สวัสดีครับพี่หนึ่ง
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาบนเกาะพะงันมีทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลเด็ก มีตั้งแต่รุ่น 6-12 ปีทั้งหญิงและชาย หลังจากไปเรียนฟุตบอลมาร่วมปี สัปดาห์ละสองครั้ง เจ้าลูกชายผมก็มีโอกาสได้ลงสนามแข่งขันจริงๆ ซะที
สนามที่แข่งก็คือสนามฟุตบอลหญ้าเทียมที่ศิลป์ใช้ซ้อมเป็นประจำทุกสัปดาห์ คนจัดงานก็เป็นบรรดาผู้คลั่งไคล้ในฟุตบอลที่ปัจจุบันนี้เข้าไปทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อีกทั้งยังได้การสนับสนุนจากผู้ประกอบการหลายๆ คนบนเกาะอีกด้วย ชุดแข่งขันของแทบทุกทีมมีโลโก้สปอนเซอร์จากบรรดารีสอร์ตหรือผับบาร์ต่างๆ เต็มไปหมด ฟุตบอลแข่งกันครึ่งละ 8 นาที ภายในระยะเวลาสองวันน่าจะแข่งกันไปร่วมร้อยเกม
รอบๆ สนามเต็มไปด้วยเต็นท์ผ้าใบชั่วคราวให้ผู้เล่น โค้ช และกองเชียร์ทีมต่างๆ หลายร้อยคนได้หลบร้อนและพักรอระหว่างแมตช์ ใครๆ อาจมองว่าเกาะพะงันมีแต่เรื่องปาร์ตี้ยา หรือการแสวงหาจิตวิญญาณของเหล่าโยคี แต่เท่าที่ผมอยู่มาปีกว่าๆ เห็นว่าที่นี่มีกิจกรรมสำหรับเด็กและครอบครัวก็มีอยู่ไม่น้อย อย่างครั้งนี้ก็ถือกว่าเกินคาดครับ เกาะนี้มักสร้างความประหลาดกึ่งประทับใจให้กับผมอยู่เสมอ คือเรื่องบางเรื่องมันเป็นเรื่องส่วนรวม ถึงเราอยากทำให้ลูกแค่ไหนก็ทำไม่ได้ ถ้าเพื่อนบ้านหรือคนในชุมชนไม่พร้อมหรือไม่ให้ความร่วมมือ
การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ครั้งนี้ครอบครัวเราเป็นผู้เข้าร่วมที่ได้ประโยชน์ ครั้งหน้าถ้ามีโอกาสเราเองก็ยินดีสนับสนุน ที่บอกว่าอยากเพราะการแข่งขันกีฬาแบบนี้แหละจะทำให้ลูกเห็นโลกจริงๆ ที่เขาอาศัยอยู่ ให้เห็นว่าบนเกาะนี้มีเด็กไทยอีกไม่น้อยในวัยเดียวกับเขา เห็นวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปของผู้คนที่หลากหลาย เห็นโค้ชบางคนตะโกนสั่งนักเตะตัวน้อยอย่างดุดัน เห็นพ่อแม่บางคนที่ดูแลลูกอย่างประคบประหงม เห็นน้ำใจนักกีฬาและรับรู้ความเห็นใจของเพื่อนต่างทีม
แม้จะเป็นแค่อีเว้นต์การแข่งขันกีฬาเด็ก แต่ผมคิดว่าเรามองหาและทำความเข้าใจผู้คนบนโลกผ่านมันได้อยู่เหมือนกัน
ฟุตบอลรุ่นที่ศิลป์ลงแข่งคือรุ่น 6 ปี มีทีมจากโรงเรียนต่างๆ บนเกาะมาร่วมแข่งอีก 5 ทีม
ตัวอักษรบนถ้วยรางวัลบอกว่าเป็นรุ่นอนุบาล ซึ่งถ้านับตามจริงก็ต้องถือว่าศิลป์และเพื่อนจำนวนหนึ่งโกงอายุไปสัก 1 ปี เพราะตอนนี้พวกเขาเรียนอยู่ชั้นเทียบเท่าประถม 1 แล้ว เริ่มแข่งไม่เท่าไรก็รู้สึกว่าจะไม่สนุกซะแล้ว (ในความหมายว่าไม่ได้ขับเคี่ยวกันอย่างสูสี) เด็กอนุบาลที่เพิ่งหัดเล่นบอลจะแข่งกับเด็กวัยเดียวกันหรือโตกว่าปีหนึ่งที่ซ้อมกันมาร่วมปีได้อย่างไร ทีม Atletikoh Phangan U6 ของศิลป์ชนะขาดลอยแบบไม่เสียประตูทุกแมตช์ไปจนถึงนัดชิงชนะเลิศ
ในรุ่นอื่นๆ ทีมจาก Atletikoh Academy ก็ได้แชมป์เกือบหมด จะมีก็รุ่น 12 ปี ทั้งหญิงและชายเท่านั้นที่ได้แค่ที่ 3 และที่ 5 ตามลำดับ อันนี้ก็น่าสนใจนะครับ พอรุ่นใหญ่ขึ้นมา เด็กไทยที่อาจไม่ได้ซ้อมมายาวนานเหมือนเด็กในอะคาเดมี่ ก็สามารถทำผลงานได้ดีจากการรวมตัวกันซ้อมไม่กี่เดือนก่อนการแข่งขัน
ผมคุยกับหลินว่าอาจเป็นด้วยว่าประชากรเด็กไทยบนเกาะมีเยอะกว่า ในวัยที่เด็กมีความพร้อมและกระหายที่จะเล่นฟุตบอล ถ้าถูกคัดเลือกตัวดีๆ เพื่อมาซ้อมเทคนิคและแบบแผนการเล่นสักหน่อยก็ไม่ยากนักที่จะชนะเด็กฝรั่งที่มาเข้าคลาสฟุตบอลเพื่อการสุขภาพและเสริมสร้างทักษะทางสังคมซะมากกว่ามุ่งหวังความเป็นเลิศทางกีฬา
ระหว่างการแข่งขัน ศิลป์เริ่มต้นด้วยการนั่งข้างสนามและได้ลงเล่นในครึ่งหลังซะเป็นส่วนใหญ่ ยิงประตูได้หนึ่งลูกและส่วนใหญ่ถูกโค้ชสั่งให้ประจำการในแนวรับตลอดทัวร์นาเมนต์ (โค้ชให้เหตุผลว่าเขาเชื่อใจในลูกชายผม ว่าจะเชื่อฟังและมีวินัย ไม่ทอดทิ้งแนวรับให้โหว่โล่ง 555) หลังรับถ้วยรางวัลชนะเลิศของทีม เพื่อนคนหนึ่งในทีมได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยม ศิลป์หันมาทำหน้างอนแล้วบอกกับผมว่า It’s not fair. I didn’t have much chance to play as a forward or have enough playing minutes.
ผมบอกว่าทั้งหมดมันอยู่ที่ผลงานของเขาในอดีตที่สนามซ้อม ผมพยายามทำให้ลูกยอมรับความจริงให้ได้ว่าอะไรคืออะไร เพื่อนร่วมทีมที่เก่งกว่าย่อมสมควรได้รับรางวัล มันคงตลก ถ้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมไปตกอยู่ในมือนักเตะฝีเท้าดาดๆ ผมบอกให้ลูกพยายามมากขึ้นอีกถ้าอยากครองถ้วย MVP เราใช้เวลาคุยกันสักพักเพราะผมไม่อยากให้ลูกหมดกำลังใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้เขาสำคัญตนและหลงผิดคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด ท้ายสุดผมบอกกับเขาว่าเราเล่นฟุตบอลเพื่อที่จะสนุกกับเกม และนี่คือกีฬาที่เล่นเป็นทีม ถ้วยรางวัลของทีมนั้นสำคัญกว่าถ้วยรางวัลส่วนบุคคลเสมอ
เรื่องพื้นฐานอย่างนี้แหละที่ผมคิดว่าต้องปลูกฝังกันแต่เด็ก รักลูกแค่ไหน ถ้าไม่พร่ำบอกกับเขาว่าความจริงเป็นอย่างไรก็เหมือนกับการทำร้ายพวกเขาในอนาคตอยู่กลายๆ
ระหว่างการแข่งขัน ผมนั่งคุยกับบรรดาผู้ปกครองคนอื่นๆ เลยขอจำมาเล่าให้ฟังบ้าง อาทิ อีนอน พ่อของเพื่อนร่วมทีมศิลป์อีกคน บ่นกับผมถึงเสียงคนพากย์ข้างสนามที่ต่อไมค์ออกลำโพงตัวใหญ่ดังหนวกหูไปทั่วสนามตั้งแต่แมตช์แรกยันแมตช์สุดท้าย ผมก็ได้แต่พยักหน้าเห็นด้วยพลางนึกในใจว่า นี่มึงอยู่เมืองไทยมานานแล้วยังไม่ชินกับความฮาเฮที่แสนจะเอะอะมะเทิ่งของคนในประเทศนี้อีกหรือ
เขาบ่นกับผมต่ออีกหน่อยถึงการตัดสินระหว่างเกมในบางครั้งที่ออกจะค้านสายตา อีนอนบอกว่าเป็นสุดสัปดาห์ที่แสนเหนื่อยของคนเป็นพ่อที่ต้องอยู่ดูลูกสองคนแข่งเกือบจะตลอดเวลา ท่ามกลางเสียงพากย์ไทยอย่างเมามันของผู้จัด (ฮา)
อลัน ชาวเดนิช พ่อของเพื่อนคนแรกๆ ของศิลป์บนเกาะพะงัน บอกว่าทุกอย่างมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เขาเคยตั้งทีมฝรั่ง เอฟซี แข่งกับคนไทย เอฟซี เมื่อสิบกว่าปีก่อน ตอนนั้นเขารู้สึกว่าคนไทยที่แข่งด้วยมักจะกลัวเสียหน้าและใช้กลโกงในการแข่งขันเสมอๆ เขาเล่าว่าพอเล่นกันไปสักพัก เมื่อนักเตะไทยและฝรั่งเริ่มได้คุยและรู้จักกันมากขึ้น กติกาและความยุติธรรมในเกมฟุตบอลก็เริ่มกลับคืนมาด้วยความรักที่มีต่อเกมของนักเตะทุกชาติทุกคน แต่แถมท้ายผมด้วยคำถามว่ารู้ไหมว่า บรรดาคนจัดงานทั้งหลายในวันนี้นี่นักพนันทั้งนั้น
เชื่อไหมว่ามีการเดิมพันการแข่งขันฟุตบอลเด็กหลายๆ แมตช์ในรายการนี้แน่นอน (ถถถ)
ผมเห็นด้วยและออกจะคล้อยตามกับความเห็นของพวกเขา แต่ความสนใจหลักอยู่ที่ภาพรวมซะมากกว่ารายละเอียดเล็กน้อยๆ ที่น่ากวนใจ เหมือนกับซิฟ อดีตกรรมการบาสเก็ตบอลอาชีพ เพื่อนชาวอิสราเอลอีกคนหนึ่งบอกว่างานที่จัดครั้งนี้ดูอบอุ่นและน่ารัก ให้ความรู้จักเหมือนกับอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ สอดคล้องกับพี่ใหม่ สาวไทยคนเกาะที่มีรีสอร์ตอยู่ไม่ไกลจากท่าเรือ เธอบอกว่าเด็กบนเกาะรุ่นนี้โชคดีกว่าสมัยเธอเด็กๆ นัก แต่ก่อนไม่เคยมีกิจกรรมสร้างสรรค์อะไรแบบนี้ให้กับเด็กๆ เธอแทบจะโตมากับการตบตีหรือการเล่นยาของเพื่อนๆ ด้วยซ้ำ
หลังทัวร์นาเมนต์มีดราม่าเล็กน้อย เมื่อรัน โค้ชใหญ่ประจำอะคาเดมี่ ส่งข้อความถึงทุกคนว่า มีผู้ปกครองบางคนเข้ามาคุยและถามในเชิงตำหนิ ว่าทำไมลูกของเขาถึงไม่ได้ลงเล่น หรือลงเล่นแค่ไม่กี่นาที
โค้ชบอกว่าในเกมฟุตบอลอาชีพ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอๆ ใครทำผลงานได้ดีในสนามซ้อมก็จะมีโอกาสลงเล่นในการแข่งขันจริง แทนที่จะบอกกับลูกว่าจะไปคุยกับโค้ชให้ ทุกคนควรจะบอกกับลูกให้พยายามมากขึ้นและเรียนรู้ที่ยอมรับความจริง โอกาสในทัวร์นาเมนต์หน้ายังมีเสมอสำหรับคนที่ยังก้มหน้าก้มตาซ้อมอย่างเอาจริงเอาจัง
โค้ชพูดเหมือนกับที่ผมบอกกับลูกแหละครับ แต่น้ำเสียงทางตัวอักษรอาจดูกราดเกรี้ยวและทำให้พ่อแม่บางคนรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ พ่อแม่บางคนมาปรารภและถามความเห็นว่าคิดอย่างไร ผมบอกไปว่าเนื้อหาสมเหตุสมผล ส่วนท่าทีและโทนเสียงของข้อความนั้นควรปรับปรุง
บทเรียนสำคัญที่ผมอยากให้ลูกชายเรียนรู้ในสุดสัปดาห์ผ่านมาก็คือ การรู้จักทำตัวเป็นผู้ชนะที่ดี และในขณะเดียวกันก็ควรรู้จักและพร้อมที่จะเป็นผู้แพ้ที่ดีด้วยเช่นกัน ในโลกแห่งความจริงจะมีใครบ้างที่ชนะตลอดหรือแพ้เสมอ
ทางที่ดีคือเตรียมพร้อมที่จะเป็นได้ทั้งสองบทบาทอย่างมีเกียรติ หรืออย่างมีสไตล์ดีกว่า
ด้วยมิตรภาพ
จ๊อก
ปล. ระหว่างนั่งเขียนตอนจบของจดหมายฉบับนี้ ผมนั่งอยู่บนเรือข้ามฝั่งของอีกบริษัทที่ชื่อ ซีทราน นั่งเสียบปลั๊กโน้ตบุ๊คบนเคาเตอร์บาร์และพิมพ์จดหมายในร้านชำติดแอร์เย็นฉ่ำบนเรือ แม้ค่าตั๋วจะแพงกว่าสักหน่อย แต่โคตรคุ้มกว่าการใช้บริการของอีกบริษัทที่ชื่อราชา เฟอร์รี่ การแข่งขันในโลกธุรกิจทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิมีเสียงขึ้นมาบ้าง บริษัทไหนห่วยเราก็แค่ลด ละ และเลิกอุดหนุน ถ้ายังดื้อดึงไม่ปรับปรุง วันนึงธุรกิจก็จะอยู่ไม่ได้ไปเอง โชคดีที่ตอนนี้พะงันมีบริษัทเดินเรือสองบริษัทมาให้บริการแล้ว เวลาพี่มาหาผม อุดหนุนให้ถูกบริษัทนะครับ แต่ประเทศเรายังมีอีกบริษัทชื่อราชาเหมือนกัน ผมเองอยากมีสิทธิมีเสียงเลิกใช้แบบที่ทำกับบริษัทเดินเรือในวันนี้บ้าง เผื่อจะทำให้รายนั้นเจ๊งย่อยยับ และล้มหายตายจากตามกันไปในเร็ววันเช่นกัน (อุ๊ปส์)
ตอบ จ๊อก
‘อิจฉา’ คำติดปาก เรามักจะพูดกันอย่างนี้ เวลาเจอเรื่องในทำนองที่คุณเล่า ที่จริงไม่ได้อิจฉา อยากบอกว่ายินดีด้วยมากๆ ด้วยซ้ำที่เด็กรุ่นนี้มีโอกาสดี อยากเตะบอลก็มีพ่อแม่ส่งเสริม มีโค้ชช่วยบอกสอน มีสนามจ๊าบๆ มีกระทั่งทัวร์นาเมนต์ให้วาดแข้
โคตรดี นี่มันชีวิตในฝันโดยแท้
ย้อนมองชีวิตเราซิ ทีวีหรือแมทช์ถ่ายทอดสดไม่ต้
กีฬาสีแต่ละปี ดีสุดก็นั่งมอง เชียร์เพื่อนร่วมห้องซึ่
บอล ยืมเพื่อน (บ้านที่มีตังค์หน่อย เออ คนพวกนี้มักมีกีตาร์และจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ด้วย) เตะแตกบางทีต้องแชร์กันซื้อใหม่
สนามนี่คือเราทำขึ้นมาจริงๆ นะ ทุ่งนาโล่งๆ ของใครก็ไม่รู้ อยู่หลังบ้านเรา (บ้านเช่าเดือนละเจ็ดร้อย) เขาปล่อยรกร้าง เรากับน้องชายไปช่วยกันถางหญ้า ขีดเขตให้รู้ว่าออกตรงไหน เตะมุมตรงไหน ขุดเสาโกล์ ตีโครง ส่วนตาข่ายคล้ายเป็นภาพฝัน มันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างไม่
ผ่านชีวิตนักบอลมานาน ทุกวันนี้ เวลาผ่านโรงเรียนหรือสถานที่
นึกๆ ดู เราน่าจะไม่เคยเล่นบอลแบบมีคนดู
ถึงบอกว่า เมื่อโลกพัฒนามาถึงยุคเจ้าศิลป์ จะกินจะเล่นก็มีข้าวของรองรับ พ่อแม่สนับสนุน แบบนี้เขาเรียกว่าก้าวหน้า สังคมเผ่าพันธุ์มนุษย์ควรดำเนิ
ฟุตบอลเป็นบทเรียนที่ดีของสั
เป็นรถ มันก็ยักแย่ยักยัน ถอยๆ เอียงๆ ลงข้างทางอยู่อย่างนี้ เป็นฟุตบอล เพื่อนก็พานจะทำให้มันกลายเป็
แบบนี้มันก็อยู่กันยาก ยากจริงๆ ที่จะสอนคนให้รู้จักแพ้ ยินดีกับผู้ชนะ และกระหายที่จะลุกขึ้นมาปรับปรุ
สัจจะเป็นแบบนี้ ฉะนั้น ใครฝึกไว้ก่อนก็ได้เปรียบ เราเห็นว่าเกมฟุ
ปล.ฝากบอกเจ้าศิลป์ว่า มันแฟร์แล้วเว้ยกับสิ่งที่
ภาพ Dek Wat เด็กวัด
เกี่ยวกับผู้เขียน : จ๊อก (ชัยพร อินทุวิศาลกุล) เป็นคนทำโรงพิมพ์ที่สนใจศิลปะ วรรณกรรม และสังคมการเมือง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเทศกาลหนังสือเล็กๆ หลายครั้ง ใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯ มานานปี วันนี้ตัดสินใจย้ายไปเป็นชาวเกาะพะงัน ทุกสัปดาห์เขาเขียนจดหมายมาคุยกับ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ บรรณาธิการ nan dialogue